โบท็อก ปรับหน้าเรียว ลดริ้วรอย
โบท็อก คืออะไร?
“โบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ” หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “โบท็อก” เป็นโปรตีนที่สกัดได้จากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Clostridium Botulinum (คลอสตริเดียม โบทูลินัม) ซึ่งในวงการแพทย์ เดิมทีนำมาใช้รักษากลุ่มอาการ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อตากระตุก อาการโรคตาเหล่ เป็นต้น และในเวลาต่อมา ได้มีการพัฒนานำมาใช้ในวงการเสริมความงามจนถึงปัจจุบัน
โบท็อกทำงานยังไง?
โบท็อก มีผลทำให้กล้ามเนื้อหยุดการทำงานชั่วคราวในบริเวณที่ฉีด เมื่อฉีดโบท็อกเข้าสู่ร่างกาย ตัวยาจะไปจับตัวกับปลายเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อ ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและส่งผลต่อการปรับลดขนาดของกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีด ส่งผลให้ริ้วรอยต่างๆ ลดเลือนลง และกล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลง เช่นการฉีดลดกราม นอกจากนี้การฉีดโบท็อกลิฟท์ยังช่วยกระชับกรอบหน้าให้ใบหน้ากลับมาตึงกระชับ อีกทั้งยังช่วยยับยั้งการทำงานของต่อมเหงื่อ ช่วยให้เหงื่อและกลิ่นตัวลดน้อยลงได้อีกด้วย
โบท็อก ฉีดบริเวณไหนได้บ้าง?
โบท็อกสามารถนำมาใช้เพื่อปรับและแก้ไขปัญหาได้หลากหลายบริเวณ
- ลดกราม ปรับรูปหน้า
- ลิฟท์กรอบหน้า, ลิฟท์โหนกแก้ม
- ลดริ้วรอย เช่น หน้าผาก, หางตา, หว่างคิ้ว
- ลดปีกจมูก
- ลดเหงื่อใต้วงแขน
- กระชับรูขุมขน
โบท็อกอยู่ได้นานแค่ไหน?
โบท็อกจะมีอายุประมาณ 4-6 เดือน ขึ้นอยู่กับการใช้งานกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของแต่ละบุคคล เช่นคนที่ชอบแสดงสีหน้าด้วยการยักคิ้วหรือขมวดคิ้วบ่อยๆก็จะส่งผลให้ริ้วรอยในบริเวณดังกล่าวกลับมาได้เร็วกว่าคนที่ไม่ค่อยแสดงสีหน้า และการดูแลตัวเองหลังฉีด เช่น การหลีกเลี่ยงเลเซอร์, ทรีตเมนท์, อบซาวน่าหรือความร้อนต่างๆ
ระยะเวลาในการเห็นผล
จะเริ่มเห็นผลลัพธ์ใน 1-4 สัปดาห์ และจะเห็นผลลัพธ์เต็มที่เมื่อครบ 1 เดือน
ระยะเวลาการฉีดซ้ำ?
ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้
- หน้าแข็ง ไร้อารมณ์ ผลข้างเคียงนี้สาเหตุหลักเกิดได้จากการที่ ใช้ปริมาณโบท็อกที่มากเกินไปในการฉีด จนทำให้ไม่สามารถบังคับกล้ามเนื้อ หรือแสดงสีหน้า และอารมณ์บนใบหน้าได้
- หางคิ้วกระดก เกิดได้จากเทคนิคการฉีดที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ถูกต้อง จึงทำให้คิ้วเลิกสูงขึ้น รวมทั้งยังอาจทำให้เกิดรอยย่นเพิ่มขึ้นที่ด้านข้างของคิ้วได้ด้วย
- หนังตาตก สาเหตุเกิดได้จากการฉีดผิดจุด ทำให้กล้ามเนื้อที่หยุดทำงานไป เกิดเป็นอัมพาต ทำให้หนังตาของคุณอ่อนแรงลง หน้าจึงดูอ่อนล้าเหมือนคนง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา ร้ายแรงถึงขั้นลืมตาได้ไม่เท่ากัน สายตาพร่ามัว แม้จะเป็นผลข้างเคียงเพียงชั่วคราวและสามารถแก้ไขได้ แต่ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตไม่น้อย
- ยิ้มไม่สุด ปากเบี้ยว มีสาเหตุมาจากการฉีดโบท็อกไปโดนมัดกล้ามเนื้อ “ไรซอเรียส (Risorius)” กับกล้ามเนื้อ “ไซโกมาติก (Zygomatic)” ที่อยู่บริเวณมุมปาก ซึ่งมีหน้าที่สำคัญคือคอยควบคุมการยกมุมปากขึ้นเวลาที่เรายิ้ม เลยส่งผลทำให้เราไม่สามารถดึงยกมุมปากได้ตามปกติ และทำให้ปากสองข้างดูเบี้ยวไม่สมมาตรกันด้วย
- วิงเวียนศีรษะ อาเจียน ผิวเห่อแดง ผลข้างเคียงนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการแพ้ตัวยาที่ฉีดเข้าไป คนไข้ที่มีลักษณะอาการดังกล่าว มักจะแสดงอาการหลังจากการฉีดทันทีหรือหลังจากฉีดประมาณ 2-3 ชม.
- โรคบูทีลิซึม (BOTULISM) เนื่องจากโบท็อก หรือ โบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ คือสารที่สกัดได้จากแบคทีเรีย ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากสารตัวนี้ คือ ร่างกายผู้ป่วยแสดงอาการถูกสารดังกล่าวคุกคาม อันเรียกว่าเกิดอาการของโรคโบทูลิซึ่ม โดยอาการสามารถเกิดได้แม้กับบริเวณที่ไม่ได้อยู่ใกล้เคียงกับจุดที่ฉีดโบท็อกเข้าไป เช่น ฉีดที่หน้าแต่เกิดอาการอ่อนแรงที่แขนขา มองเห็นภาพซ้อนหรือมองไม่ชัด เสียงหาย ความสามารถในการอั้นปัสสาวะลดลง เป็นต้น
การปฏิบัติตัวหลังฉีดโบท็อก
- ขยับกล้ามเนื้อบริเวณบริเวณที่ฉีดในช่วง 30 นาทีแรก
- งดนอนราบ 4 ชั่วโมง
- ห้ามกด นวดบริเวณที่ฉีด 6-8 ชั่วโมง
- งดออกกำลังกายหนัก 2-3 วัน
- งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 สัปดาห์
- งดการทำเลเซอร์ การอบซาวน่า การทำทรีตเมนท์หรือการโดนความร้อนจัดบริเวณใบหน้า เป็นเวลา 2 สัปดาห์
คำถามที่พบบ่อย
1. ทำไมฉีดโบท็อกไม่เห็นผล
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้โบท็อกปลอม หรือโบท็อกหิ้วที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งหลังจากฉีดครั้งแรกไป ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีเท่าที่ควร และผลลัพธ์จะเริ่มได้ผลลดน้อยลง ในครั้งต่อๆไป เพราะร่างกายของคนเรา สร้างภูมิต้านทานต่อตัวยามากยิ่งขึ้น
2. การดื้อโบท็อกคืออะไร
“ดื้อโบท็อก” อาการนี้หมายถึง การฉีดโบท็อกแล้วไม่เห็นผลลัพธ์ โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากโปรตีนในสารโบท็อกนั้นมีหลายชนิด ซึ่งเมื่อฉีดเข้าร่างกายไปแล้ว ร่างกายของผู้ฉีดบางรายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาเพื่อต่อต้านสารโปรตีนดังกล่าว ทำให้การออกฤทธิ์ของโบท็อกไม่เห็นผลเท่าที่ต้องการ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการดื้อโบท็อกขึ้น ได้แก่
✓การใช้โบท็อกในปริมาณสูงเกินไป
✓การฉีดโบท็อกถี่เกินไป
✓การฉีดโบท็อกที่ไม่ได้คุณภาพ หรือโบท็อกหิ้ว เป็นต้น
ดังนั้น ผู้เข้ารับบริการจึงควรฉีดโบท็อกในปริมาณที่น้อย และไม่ควรฉีดเกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดให้ฉีดได้ นอกจากนี้การฉีดแต่ละครั้งยังควรห่างกันมากกว่า 12 สัปดาห์ด้วย ไม่ควรใช้จำนวนยูนิตในแต่ละครั้งเกิน 300 ยูนิต เพราะจะเพิ่มโอกาสที่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานได้ง่ายขึ้น